วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิจัยในชั้นเรียน (วิจัยหน้าเดียว)

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี โดยใช้ชุดสื่อการสอน

ผู้วิจัย นางกมลวรรณ จันทร์เพ็ง

ตำแหน่งปัจจุบัน ครูอัตราจ้าง

วุฒิการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขา นิเทศศาสตร์ (วิทยุ – โทรทัศน์)

ที่อยู่ที่บ้าน เลขที่ 59/8 หมู่ 9 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ที่อยู่ที่ทำงาน โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ปีที่ทำการวิจัย พุทธศักราช 2551

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ ให้มีความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
จากการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านสะกดคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่ามีนักเรียน 10 คน จากจำนวน 50 คน ที่ยังอ่านสะกดคำไม่คล่อง ปัญหานี้จะเป็นอุปสรรคและมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะความสามารถในการอ่านออกในวิชาภาษาไทย จะเป็นพื้นฐานและเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ ในรายวิชาอื่นๆ จึงต้องหาวิธีช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มนี้ ให้สามารถอ่านออกให้ได้ ผู้วิจัยจึงได้สร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำให้กับนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้ติดตามผลกับนักเรียนและได้ทดลองแบบทดสอบมาโดยตลอด ซึ่งจะส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่านให้มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น และนักเรียนจะได้มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านตลอดไป



แนวคิด/ทฤษฎี
ข้อค้นพบการวิจัย -------> ปัญหาการวิจัย ------------>กระบวนการวิจัย

ตัวแปรต้น คือ ชุดการสอนพัฒนาการอ่านสะกดคำ
ตัวแปรตาม คือ ความสามารถทางการอ่านสะกดคำของนักเรียน

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนการอ่านสะกดคำ
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดการสอน
3. เพื่อให้นักเรียนอ่านสะกดคำได้ถูกต้อง
4. เพื่อศึกษาข้อมูลกระบวนการอ่านสะกดคำ

วิธีการดำเนินการวิจัย

1. ประชาการ/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 50 คน
2. เครื่องมือที่ใช้
2.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางในการแก้ปัญหา
ใช้วิธีการสอนโดยใช้ชุดการสอน การอ่านสะกดคำ
2.2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการอ่านสะกดคำ แบบอัตนัย

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยการใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

ใช้สถิติที่เป็นค่าร้อยละของจำนวนนักเรียน

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านสะกดคำ สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ครบทุกคน และนักเรียนที่อยู่ในกลุ่ม 10 คน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านสะกดคำ ผ่านเกณฑ์

ประโยชน์ของการวิจัย

1. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านสะกดคำดีขึ้น ทำให้มีทักษะการอ่านที่ถูกต้อง
2. ได้ชุดการสอน สำหรับพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำให้กับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออก
3. เป็นแนวทางของครูในการปรับปรุงหรือพัฒนาการสอนอ่านให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
4. ได้แนวทางและสื่อเอกสารประกอบการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1

นวัตกรรม ชุดการสอน อกษรสูง






ชุดสื่อและอุปกรณ์

๑. ผังความคิด

๒. แถบผันคำอักษรสูง

๓. รูปภาพแทนตัวอักษร

๔. ตัวอักษร หมวดอักษรสูง

๕. ปริศนาคำทาย
คำชี้แจงสำหรับครู

๑. จัดชั้นเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๕ – ๖ คน ต่อ ๑ กลุ่มหรือตามแถวที่นั่ง
๒. ครูตั้งคำถามว่า อักษรไทยมีทั้งหมดกี่ตัว และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม อักษรกลาง อักษรต่ำและอักษรสูงมีกี่ตัวๆอะไรบ้าง ให้นักเรียนตอบคำถามโดยสุ่มถามเป็นรายบุคคล ในกลุ่มต่าง ๆ

๓. อธิบายใบงานที่ ๑ ให้นักเรียนเข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จภายใน ๕ นาที

๔. ครูนำรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ติดบนกระดานจนครบ โดยการตั้งคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. ครูแจกใบงานที่ ๒ ให้เขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว

๖ . ครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที


๗. ครูนำตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน มาตั้งหน้าชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนอ่านทวนทีละตัว

๘ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง

การวัดผล/ประเมินผล
๑. สังเกตจากการหาอักษรสูง และการผันอักษรสูง
๒. สังเกตจากพฤติกรรมรายบุคคล
๓. ตรวจใบงาน


บทบาทของนักเรียน

๑. นักเรียนจัดชั้นเรียน นั่งตามแถวที่นั่ง หรือแบ่งเป็นกลุ่ม ๆละ ๕ – ๖ คน

๒. นักเรียนตอบคำถาม เกี่ยวกับตัวอักษรสูง โดยจะถูกสุ่มถามเป็นรายบุคคล
ในกลุ่มต่าง ๆ
๓. นักเรียนฟังครูอธิบายใบงานที่ ๑ ให้เข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จ
ภายใน ๕ นาที

๔.นักเรียนดูรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ที่ครูนำมาติดบนกระดาน แล้วตอบคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. นักเรียนรับใบงานที่ ๒ แล้วจึงเขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว ให้ถูกต้อง
๖. นักเรียนฟังครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที

๗. นักเรียนดูตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน ที่ครูนำมาตั้งหน้าชั้นเรียน จากนั้นนักเรียนอ่านทวนทีละตัว

๘. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง

วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2551

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สื่อการเรียนการสอน

บทที่ 1 ความหมาย
ความหมาย ประเภทและประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอนหมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพประเภทของสื่อการเรียนการสอนสื่อการเรียนการสอนแบ่งตามคุณลักษณะได้4 ประเภทคือ
1. สื่อประเภทวัสดุ ได้แก่สไลด์ แผ่นใส เอกสาร ตำรา สารเคมี สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ และคู่มือการฝึกปฏิบัติ

2. สื่อประเภทอุปกรณ์ ได้แก่ของจริง หุ่นจำลอง เครื่องเล่นเทปเสียง เครื่องเล่นวีดิทัศน์ เครื่องฉายแผ่นใส อุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ

3. สื่อประเภทเทคนิคหรือวิธีการ ได้แก่การสาธิต การอภิปรายกลุ่ม การฝึกปฏิบัติ การฝึกงาน การจัดนิทรรศการ และสถานการณ์จำลอง

4. สื่อประเภทคอมพิวเตอร์ ได้แก่คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) การนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์ (Computer presentation) การใช้ Intranet และ Internet เพื่อการสื่อสาร (Electronic mail: E-mail) และการใช้ WWW (World Wide Web)สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์

.......1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง
....... 2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า
.......3. ประสบการณ์นาฏการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น
.......4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฏการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด
.......5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง
.......6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง
.......7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์
.......8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียน การสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย
.......9. ทัศนสัญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น
.......10.วจนสัญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลาสื่อการเรียนการสอนจำแนกตามคุณสมบัติ

.......Wilbure Young ได้จัดแบ่งไว้ดังนี้
1. ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เช่น กระดานดำ กระดานผ้าสำลี) แผนภูมิ รูปภาพ ฟิล์มสตริป สไลด์ ฯลฯ
2. โสตวัสดุ (Audio Materisls ) เช่น เครื่องบันทึกเสียง (Tape Recorder) เครื่องรับวิทยุ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ระบบขยายเสียง ฯลฯ
3. โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ ฯลฯ
4. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Equipments) เช่น เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายฟิล์มสตริป เครื่องฉายสไลด์
5. กิจกรรมต่าง ๆ (Activities )เช่น นิทรรศการ การสาธิต ทัศนศึกษา ฯลฯ

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามรูปแบบ

.....(Form)Louis Shores ได้แบ่งประเภทสื่อการสอนตามแบบไว้ ดังนี้
1. สิ่งตีพิมพ์ (Printed Materials) เช่น หนังสือแบบเรียน เอกสารการสอน ฯลฯ
2. วัสดุกกราฟิก เช่น แผนภูมิ ( Charts) แผนสถิติ (Graph) แผนภาพ (Diagram) ฯลฯ
3. วัสดุฉายและเครื่องฉาย (Projected Materials and Equipment) เช่น ภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
4. วัสดุถ่ายทอดเสียง (Transmission) เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง

สื่อการเรียนการสอนตามลักษณะและการใช้
1. เครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware)
2. วัสดุ (Software)
3. เทคนิคหรือวิธีการ (Techinques or Methods)

คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

"ปลากัดอีบุ๊ก" นวัตกรรมใหม่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์เพื่อคนไทย

"ไทยซอฟท์แวร์" ปลุกกระแสอีบุ๊กในไทย ด้วยการเปิดตัว "ปลากัดอีบุ๊ก" โปรแกรมอีบุ๊กฝีมือคนไทยโปรแกรมแรกบนพ็อกเกตพีซี คงความสามารถทุกจุดในอีบุ๊กภาษาอังกฤษไว้ครบถ้วน คุ้ยระบบค้นคำ ตัดคำดีกว่า ใช้เวลาพัฒนา 8 เดือน งบลงทุน 2.3 ล้านบาท

สมพร มณีรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้ผลิตโปรแกรมดิกชั่นนารีไทย-อังกฤษ สอ เสถบุตร กล่าวถึงที่มาของการพัฒนาโปรแกรมปลากัดอีบุ๊กในครั้งนี้ให้ฟังว่า ความสำเร็จของปลากัดอีบุ๊กในครั้งนี้เกิดจากความร่วมมือของโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือที่เรียกว่า ไอทีเอพี ตลอดจนความทุ่มเทของโปรแกรมเมอร์ของบริษัทที่ใช้เวลาในการพัฒนาปลากัดอีบุ๊กมาเป็นเวลา 8 เดือน โดยใช้งบประมาณในการพัฒนาครั้งนี้ทั้งสิ้น 2,315,000 บาท

"บทบาทของอีบุ๊กนับวันจะมีบทบาทเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยจะเห็นหนังสือที่อยู่ในรูปของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หรืออีบุ๊กมากขึ้น ทำให้ผู้อ่านสามารถพกพาหนังสือ นวนิยายติดตัวไปตามที่ต่างๆ ได้โดยไม่ต้องนำหนังสือที่เป็นรูปเล่มติดตัวไป เมื่อดูโปรแกรมพัฒนาอีบุ๊กส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีอีบุ๊กที่อ่านภาษาไทย ทางบริษัทฯ จึงได้ขอการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมปลากัดอีบุ๊กจากทางโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย หรือไอทีเอพี ที่อยู่ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติหรือสวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยทางศูนย์ได้ให้ความช่วยเหลือโครงการทั้งในเชิงเทคนิค จัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศมาให้คำปรึกษา รวมถึงการช่วยด้านค่าใช้จ่ายในการจ้างผู้เชี่ยวชาญกึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายทั้งหมด"

สมพร บอกอีกว่า ผู้เชี่ยวชาญที่ทางศูนย์ฯ จัดหามาให้นั้นเป็นคนไทยประมาณ 80% ซึ่งผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมีทั้งมาจากประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่น แคนาดา เยอรมนี เนเธอร์แลนด์

โปรแกรมปลากัดอีบุ๊กถือว่า ซอฟต์แวร์อิเล็กทรอนิกส์สายพันธุ์ไทยรายแรกของโลก ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะสมกับคนไทย ในเรื่องของการอ่าน ไม่ว่าอีบุ๊กภาษาไทยหรืออีบุ๊กภาษาอังกฤษ ให้มีความสะดวกในการใช้งานบนเครื่องพ็อกเกตพีซี โดยเฉพาะเรื่องการจัดการภาษาไทย ไม่ว่าในเรื่องของการค้นหา การตัดคำ หรือพจนานุกรมที่สามารถเลือกแปลศัพท์ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

"หากใช้โปรแกรมจากต่างประเทศ อาจเจอปัญหาการตัดคำที่ทำให้คำเดียวกันอยู่คนละบรรทัด ซึ่งอาจทำให้การอ่านหรือสื่อความหมายผิดพลาดได้"

นอกจากนี้โปรแกรมปลากัดอีบุ๊กย

ที่มา : ผู้จัดการ