วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

วิจัยในชั้นเรียน (วิจัยหน้าเดียว)

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี โดยใช้ชุดสื่อการสอน

ผู้วิจัย นางกมลวรรณ จันทร์เพ็ง

ตำแหน่งปัจจุบัน ครูอัตราจ้าง

วุฒิการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขา นิเทศศาสตร์ (วิทยุ – โทรทัศน์)

ที่อยู่ที่บ้าน เลขที่ 59/8 หมู่ 9 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ที่อยู่ที่ทำงาน โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

ปีที่ทำการวิจัย พุทธศักราช 2551

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ ให้มีความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
จากการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านสะกดคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่ามีนักเรียน 10 คน จากจำนวน 50 คน ที่ยังอ่านสะกดคำไม่คล่อง ปัญหานี้จะเป็นอุปสรรคและมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะความสามารถในการอ่านออกในวิชาภาษาไทย จะเป็นพื้นฐานและเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ ในรายวิชาอื่นๆ จึงต้องหาวิธีช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มนี้ ให้สามารถอ่านออกให้ได้ ผู้วิจัยจึงได้สร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำให้กับนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้ติดตามผลกับนักเรียนและได้ทดลองแบบทดสอบมาโดยตลอด ซึ่งจะส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่านให้มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น และนักเรียนจะได้มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านตลอดไป



แนวคิด/ทฤษฎี
ข้อค้นพบการวิจัย -------> ปัญหาการวิจัย ------------>กระบวนการวิจัย

ตัวแปรต้น คือ ชุดการสอนพัฒนาการอ่านสะกดคำ
ตัวแปรตาม คือ ความสามารถทางการอ่านสะกดคำของนักเรียน

วัตถุประสงค์การวิจัย

1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนการอ่านสะกดคำ
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดการสอน
3. เพื่อให้นักเรียนอ่านสะกดคำได้ถูกต้อง
4. เพื่อศึกษาข้อมูลกระบวนการอ่านสะกดคำ

วิธีการดำเนินการวิจัย

1. ประชาการ/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 50 คน
2. เครื่องมือที่ใช้
2.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางในการแก้ปัญหา
ใช้วิธีการสอนโดยใช้ชุดการสอน การอ่านสะกดคำ
2.2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการอ่านสะกดคำ แบบอัตนัย

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยการใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี

สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล

ใช้สถิติที่เป็นค่าร้อยละของจำนวนนักเรียน

สรุปผลการวิจัย

ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านสะกดคำ สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ครบทุกคน และนักเรียนที่อยู่ในกลุ่ม 10 คน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านสะกดคำ ผ่านเกณฑ์

ประโยชน์ของการวิจัย

1. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านสะกดคำดีขึ้น ทำให้มีทักษะการอ่านที่ถูกต้อง
2. ได้ชุดการสอน สำหรับพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำให้กับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออก
3. เป็นแนวทางของครูในการปรับปรุงหรือพัฒนาการสอนอ่านให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
4. ได้แนวทางและสื่อเอกสารประกอบการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1

นวัตกรรม ชุดการสอน อกษรสูง






ชุดสื่อและอุปกรณ์

๑. ผังความคิด

๒. แถบผันคำอักษรสูง

๓. รูปภาพแทนตัวอักษร

๔. ตัวอักษร หมวดอักษรสูง

๕. ปริศนาคำทาย
คำชี้แจงสำหรับครู

๑. จัดชั้นเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๕ – ๖ คน ต่อ ๑ กลุ่มหรือตามแถวที่นั่ง
๒. ครูตั้งคำถามว่า อักษรไทยมีทั้งหมดกี่ตัว และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม อักษรกลาง อักษรต่ำและอักษรสูงมีกี่ตัวๆอะไรบ้าง ให้นักเรียนตอบคำถามโดยสุ่มถามเป็นรายบุคคล ในกลุ่มต่าง ๆ

๓. อธิบายใบงานที่ ๑ ให้นักเรียนเข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จภายใน ๕ นาที

๔. ครูนำรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ติดบนกระดานจนครบ โดยการตั้งคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. ครูแจกใบงานที่ ๒ ให้เขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว

๖ . ครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที


๗. ครูนำตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน มาตั้งหน้าชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนอ่านทวนทีละตัว

๘ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง

การวัดผล/ประเมินผล
๑. สังเกตจากการหาอักษรสูง และการผันอักษรสูง
๒. สังเกตจากพฤติกรรมรายบุคคล
๓. ตรวจใบงาน


บทบาทของนักเรียน

๑. นักเรียนจัดชั้นเรียน นั่งตามแถวที่นั่ง หรือแบ่งเป็นกลุ่ม ๆละ ๕ – ๖ คน

๒. นักเรียนตอบคำถาม เกี่ยวกับตัวอักษรสูง โดยจะถูกสุ่มถามเป็นรายบุคคล
ในกลุ่มต่าง ๆ
๓. นักเรียนฟังครูอธิบายใบงานที่ ๑ ให้เข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จ
ภายใน ๕ นาที

๔.นักเรียนดูรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ที่ครูนำมาติดบนกระดาน แล้วตอบคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. นักเรียนรับใบงานที่ ๒ แล้วจึงเขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว ให้ถูกต้อง
๖. นักเรียนฟังครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที

๗. นักเรียนดูตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน ที่ครูนำมาตั้งหน้าชั้นเรียน จากนั้นนักเรียนอ่านทวนทีละตัว

๘. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง