รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี โดยใช้ชุดสื่อการสอน
ผู้วิจัย นางกมลวรรณ จันทร์เพ็ง
ตำแหน่งปัจจุบัน ครูอัตราจ้าง
วุฒิการศึกษา ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) สาขา นิเทศศาสตร์ (วิทยุ – โทรทัศน์)
ที่อยู่ที่บ้าน เลขที่ 59/8 หมู่ 9 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ที่อยู่ที่ทำงาน โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
ปีที่ทำการวิจัย พุทธศักราช 2551
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ ตลอดจนนำไปใช้ในการพัฒนาอาชีพ ให้มีความมั่นคงทางสังคม และเศรษฐกิจ นอกจากนี้ภาษาไทยยังเป็นสื่อที่แสดงภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ ด้านวัฒนธรรมประเพณี โดยบันทึกไว้เป็นวรรณคดีและวรรณกรรมอันล้ำค่า ภาษาไทยจึงเป็นสมบัติของชาติที่ควรค่าแก่การเรียนรู้ เพื่ออนุรักษ์และสืบสานให้อยู่คู่ชาติไทยตลอดไป
จากการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย เรื่องการอ่านสะกดคำ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน เทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี พบว่ามีนักเรียน 10 คน จากจำนวน 50 คน ที่ยังอ่านสะกดคำไม่คล่อง ปัญหานี้จะเป็นอุปสรรคและมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ของนักเรียน เพราะความสามารถในการอ่านออกในวิชาภาษาไทย จะเป็นพื้นฐานและเครื่องมือที่สำคัญในการเรียนรู้ ในรายวิชาอื่นๆ จึงต้องหาวิธีช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มนี้ ให้สามารถอ่านออกให้ได้ ผู้วิจัยจึงได้สร้างชุดการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำให้กับนักเรียนกลุ่มดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้ติดตามผลกับนักเรียนและได้ทดลองแบบทดสอบมาโดยตลอด ซึ่งจะส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่านให้มีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น และนักเรียนจะได้มีเจตคติที่ดีต่อการอ่านตลอดไป
แนวคิด/ทฤษฎี
ข้อค้นพบการวิจัย -------> ปัญหาการวิจัย ------------>กระบวนการวิจัย
ตัวแปรต้น คือ ชุดการสอนพัฒนาการอ่านสะกดคำ
ตัวแปรตาม คือ ความสามารถทางการอ่านสะกดคำของนักเรียน
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อพัฒนาชุดการสอนการอ่านสะกดคำ
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านสะกดคำก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ชุดการสอน
3. เพื่อให้นักเรียนอ่านสะกดคำได้ถูกต้อง
4. เพื่อศึกษาข้อมูลกระบวนการอ่านสะกดคำ
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ประชาการ/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จำนวน 50 คน
2. เครื่องมือที่ใช้
2.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางในการแก้ปัญหา
ใช้วิธีการสอนโดยใช้ชุดการสอน การอ่านสะกดคำ
2.2 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการอ่านสะกดคำ แบบอัตนัย
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองโดยการใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านสะกดคำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 5 พหลโยธินรามินทรภักดี อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
ใช้สถิติที่เป็นค่าร้อยละของจำนวนนักเรียน
สรุปผลการวิจัย
ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านสะกดคำ สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ครบทุกคน และนักเรียนที่อยู่ในกลุ่ม 10 คน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านสะกดคำ ผ่านเกณฑ์
ประโยชน์ของการวิจัย
1. นักเรียนมีความสามารถในการอ่านสะกดคำดีขึ้น ทำให้มีทักษะการอ่านที่ถูกต้อง
2. ได้ชุดการสอน สำหรับพัฒนาความสามารถในการอ่านสะกดคำให้กับนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านไม่ออก
3. เป็นแนวทางของครูในการปรับปรุงหรือพัฒนาการสอนอ่านให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
4. ได้แนวทางและสื่อเอกสารประกอบการสอนซ่อมเสริมแก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1
วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552
นวัตกรรม ชุดการสอน อกษรสูง
ชุดสื่อและอุปกรณ์
๑. ผังความคิด
๒. แถบผันคำอักษรสูง
๓. รูปภาพแทนตัวอักษร
๔. ตัวอักษร หมวดอักษรสูง
๕. ปริศนาคำทาย
๑. ผังความคิด
๒. แถบผันคำอักษรสูง
๓. รูปภาพแทนตัวอักษร
๔. ตัวอักษร หมวดอักษรสูง
๕. ปริศนาคำทาย
คำชี้แจงสำหรับครู
๑. จัดชั้นเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๕ – ๖ คน ต่อ ๑ กลุ่มหรือตามแถวที่นั่ง
๒. ครูตั้งคำถามว่า อักษรไทยมีทั้งหมดกี่ตัว และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม อักษรกลาง อักษรต่ำและอักษรสูงมีกี่ตัวๆอะไรบ้าง ให้นักเรียนตอบคำถามโดยสุ่มถามเป็นรายบุคคล ในกลุ่มต่าง ๆ
๓. อธิบายใบงานที่ ๑ ให้นักเรียนเข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จภายใน ๕ นาที
๔. ครูนำรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ติดบนกระดานจนครบ โดยการตั้งคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. ครูแจกใบงานที่ ๒ ให้เขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว
๖ . ครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที
๗. ครูนำตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน มาตั้งหน้าชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนอ่านทวนทีละตัว
๘ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง
การวัดผล/ประเมินผล
๑. สังเกตจากการหาอักษรสูง และการผันอักษรสูง
๒. สังเกตจากพฤติกรรมรายบุคคล
๓. ตรวจใบงาน
๑. จัดชั้นเรียน โดยแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น ๕ – ๖ คน ต่อ ๑ กลุ่มหรือตามแถวที่นั่ง
๒. ครูตั้งคำถามว่า อักษรไทยมีทั้งหมดกี่ตัว และแบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม อักษรกลาง อักษรต่ำและอักษรสูงมีกี่ตัวๆอะไรบ้าง ให้นักเรียนตอบคำถามโดยสุ่มถามเป็นรายบุคคล ในกลุ่มต่าง ๆ
๓. อธิบายใบงานที่ ๑ ให้นักเรียนเข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จภายใน ๕ นาที
๔. ครูนำรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ติดบนกระดานจนครบ โดยการตั้งคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. ครูแจกใบงานที่ ๒ ให้เขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว
๖ . ครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที
๗. ครูนำตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน มาตั้งหน้าชั้นเรียน แล้วให้นักเรียนอ่านทวนทีละตัว
๘ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง
การวัดผล/ประเมินผล
๑. สังเกตจากการหาอักษรสูง และการผันอักษรสูง
๒. สังเกตจากพฤติกรรมรายบุคคล
๓. ตรวจใบงาน
บทบาทของนักเรียน
๑. นักเรียนจัดชั้นเรียน นั่งตามแถวที่นั่ง หรือแบ่งเป็นกลุ่ม ๆละ ๕ – ๖ คน
๒. นักเรียนตอบคำถาม เกี่ยวกับตัวอักษรสูง โดยจะถูกสุ่มถามเป็นรายบุคคล
ในกลุ่มต่าง ๆ
๓. นักเรียนฟังครูอธิบายใบงานที่ ๑ ให้เข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จ
ภายใน ๕ นาที
๔.นักเรียนดูรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ที่ครูนำมาติดบนกระดาน แล้วตอบคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. นักเรียนรับใบงานที่ ๒ แล้วจึงเขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว ให้ถูกต้อง
๖. นักเรียนฟังครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที
๗. นักเรียนดูตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน ที่ครูนำมาตั้งหน้าชั้นเรียน จากนั้นนักเรียนอ่านทวนทีละตัว
๘. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง
๑. นักเรียนจัดชั้นเรียน นั่งตามแถวที่นั่ง หรือแบ่งเป็นกลุ่ม ๆละ ๕ – ๖ คน
๒. นักเรียนตอบคำถาม เกี่ยวกับตัวอักษรสูง โดยจะถูกสุ่มถามเป็นรายบุคคล
ในกลุ่มต่าง ๆ
๓. นักเรียนฟังครูอธิบายใบงานที่ ๑ ให้เข้าใจ จากนั้นจึงให้ทำใบงานที่ ๑ ให้เสร็จ
ภายใน ๕ นาที
๔.นักเรียนดูรูปภาพแทนตัวอักษรสูง ที่ครูนำมาติดบนกระดาน แล้วตอบคำถาม ปริศนาเกี่ยวกับอักษรทั้ง ๑๑ ตัว
๕. นักเรียนรับใบงานที่ ๒ แล้วจึงเขียนตัวอักษรสูงทั้ง ๑๑ ตัว ให้ถูกต้อง
๖. นักเรียนฟังครูอธิบายแถบคำการผันอักษรสูง จากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มฝึกปฏิบัติผันคำอักษรสูงประมาณ ๑๐ นาที
๗. นักเรียนดูตัวอักษรจากชุดสื่อการสอน ที่ครูนำมาตั้งหน้าชั้นเรียน จากนั้นนักเรียนอ่านทวนทีละตัว
๘. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปบทเรียน โดยใช้ เพลงผันอักษรสูง และบทร้อยกรอง
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)